19 พฤษภาคม : สลายการชุมนุม ของ การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์_พ.ศ._2553

ผู้ชุมนุมเผารถดับเพลิงที่จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 19 พฤษภาคม

แม้จะมีความพยายามในการเจรจา โดยมีวุฒิสมาชิกบางส่วนเป็นสื่อกลาง และแกนนำ นปช. ยินยอมที่จะเจรจากับรัฐบาลโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ก็ยังเกิดการสลายการชุมนุม ตามข่าวที่รับรู้กันในหมู่ผู้ชุมนุม ตั้งแต่คืนวันที่ 18 พฤษภาคม[54] โดยกองทัพทำยุทธการปิดล้อมพื้นที่ชุมนุม ก่อนจะเริ่มการโจมตีอย่างเต็มรูปแบบ[55] เริ่มจากใช้รถหุ้มเกราะเข้าทำลายสิ่งกีดขวาง ซึ่งผู้ชุมนุมสร้างขึ้นจากไม้ไผ่ ซึ่งตามคำแถลงของ พลโท ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสนาธิการทหาร (ยศและตำแหน่งขณะนั้น) แถลงถึงปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ ในวันต่อมาว่า “เรามียานเกราะ มีการเคลื่อนที่เข้าไป ในลักษณะเหมือนในสนามรบ ซึ่งต้องยอมรับว่า การจัดกำลังเข้าดำเนินการในครั้งนี้ เราไม่ได้ทำเหมือนกับการควบคุมฝูงชน ถ้าหากย้อนไปก่อนหน้านี้ จะเห็นภาพของทหารถือโล่ กระบอง เดินเข้าไปเป็นรูปขบวนปึกหนาๆ เข้าไปประจันหน้ากับผู้ชุมนุม อันนี้เป็นการควบคุมฝูงชนปกติ”[56][57] ต่อมามีทหารถูกยิงด้วยลูกระเบิด ซึ่งเชื่อว่ายิงจากเครื่องชนิดเอ็ม-79 จนบาดเจ็บสาหัส 2 นาย[ต้องการอ้างอิง]มีการเผารถดับเพลิงที่จังหวัดเชียงใหม่เผารถดับเพลิงที่เชิงสะพานนวรัฐและกลุ่มผู้ชุมนุมบุกเผาบ้านพักปลัดจังหวัดเชียงใหม่[58]กองกำลังจังหวัดเชียงใหม่ประเมินความเสียหาย 13 ล้านบาท

ตั้งแต่เวลาประมาณ 09.00 น. เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมถึงมีหน่วยแทรกซึมของทหาร เข้ามาตัดสายลำโพงซึ่งขยายเสียงจากเวทีชุมนุม[59]

เวลาประมาณ 10.00 น. มีผู้บาดเจ็บนำส่งโรงพยาบาลตำรวจ ประมาณ 10 ราย ส่วนมากบาดเจ็บสาหัส เนื่องจากถูกกระสุนปืนเข้าที่อวัยวะสำคัญ การ์ด นปช.เริ่มระดมยางรถยนต์ ไปเสริมเป็นบังเกอร์[60]

เวลาประมาณ 11.00 น. ผู้ชุมนุมพบเห็นกำลังทหาร เคลื่อนพลอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่งผลให้เกิดความแตกตื่น ผู้สื่อข่าวต่างหลบกันอลหม่าน การ์ดเข้าคุ้มกันแกนนำ นปช.พร้อมทั้งนำตัวออกจากเต็นท์หลังเวทีโดยทันที[61]

หลังจากกำลังทหาร เข้ายึดพื้นที่โดยรอบสวนลุมพินีไว้ได้ จากการเข้าตรวจที่เกิดเหตุโดยรอบ พบผู้เสียชีวิตเป็นชาย 2 ศพถูกยิงเข้าบริเวณศีรษะ อยู่ด้านหลังแนวบังเกอร์ฝั่งถนนราชดำริ บริเวณตรงข้ามตึก สก. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งกำลังทหารทลายเข้ามาสำเร็จ[62]

ประกาศยุติการชุมนุม

เวลา 13.20 น. แกนนำ นปช. ลงมติตัดสินใจประกาศยุติการชุมนุม พร้อมทั้งยอมเข้ามอบตัว กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยในเวลาดังกล่าว แกนนำ นปช. คนสำคัญคือ จตุพร พรหมพันธุ์, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, วิภูแถลง พัฒนภูมิไทย เป็นต้น ต่างขึ้นบนเวทีแยกราชประสงค์ จากนั้นจตุพร เริ่มกล่าวเป็นคนแรกว่า "ชีวิตของพวกผมเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่นี่เป็นชีวิตของคนอื่น พวกผมรอด แต่พี่น้องต้องตาย ถ้าเขาขยับมาถึงเวที ผมรู้ว่า พี่น้องพร้อมพลีชีพ ไม่รู้กี่ชีวิต เราร่วมทุกข์ร่วมสุขมายาวนานที่สุด และก็รู้กันว่า อีกไม่รู้กี่ชีวิตที่ต้องตาย ถ้า ศอฉ.บุกมาถึงที่นี่ พี่น้องก็ยอมพลีชีพกันทุกคน ผมยอมไม่ได้ ฉะนั้น วันนี้ไม่ใช่ยอมจำนน แต่ไม่ต้องการให้พี่น้องเราต้องเสียชีวิตอีกแล้ว ทนความตายของพี่น้องไม่ได้อีกต่อไป พวกผมเพื่อนๆ จะเดินทางไปที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผมรู้ว่าพี่น้องขมขื่น ทุกคนที่ขึ้นมาที่นี่ เราไม่รู้จะพูดกับพี่น้องกันอย่างไร เพราะหัวใจพี่น้องเลยความตายกันมาทุกคน วันนี้ เราหยุดความตาย แต่ยังไม่หยุดการต่อสู้ เพราะตอนนี้ยังตายอยู่เรื่อยๆ เรามาช่วยหยุดความตาย หัวใจการต่อสู้ไม่เคยหมด เราไม่ได้ทรยศ กว่าจะมาถึงเวที ไม่รู้อีกกี่ร้อยชีวิต เรามาหยุดความตายกันเถิด" ณัฐวุฒิกล่าวเป็นคนถัดมาว่า "เราขอยุติเวทีการชุมนุมแต่เพียงเท่านี้ แต่การต่อสู้ยังไม่ยุติ การต่อสู้ยังต้องเดินหน้าไปตามกระบวนการประชาธิปไตยต่อไป เราไม่อาจต้านทานความอำมหิตนี้ได้อีก ขอให้พี่น้องเดินออกไปทางสนามศุภชลาศัย การ์ดจะดูแลให้พี่น้องเดินทางกลับด้วยความสงบ และปลอดภัย"[63] ทั้งนี้ระหว่างที่ณัฐวุฒิกำลังแถลง มีเสียงปืนยิงดังแทรกขึ้นมา ทำให้แกนนำ นปช.บนเวทีตกใจ แต่ยังคงแถลงต่อไปจนเสร็จสิ้น ผู้ชุมนุมบางส่วนทยอยเดินไปทางที่แกนนำแจ้ง ส่วนแกนนำเดินทางเข้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[64]

สำหรับแกนนำที่เข้ามอบตัวกับตำรวจทันที ตามลำดับประกอบด้วยขวัญชัย ไพรพนา ตามด้วยจตุพร ซึ่งก้มลงกราบที่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายใน สตช. และคนสุดท้ายคือณัฐวุฒิ โดยก่อนเข้ามอบตัว ณัฐวุฒิกล่าวผ่านเครื่องขยายเสียงหน้า สตช.อีกครั้งว่า "ขอให้พี่น้องเสื้อแดงเดินทางกลับบ้าน ส่วนจุดยืนยังเหมือนเดิม ไม่ต้องห่วงว่าแกนนำทุกคนจะสูญสิ้นอิสรภาพ เนื่องจากความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย ขอให้วางใจ ถ้าเสร็จภารกิจนี้ และยังได้รับความไว้วางใจจากมวลชน จะกลับมาเป็นแกนนำเหมือนเดิม แต่ถ้ามวลชนไม่ไว้ใจอีกแล้ว ก็จะกลับมาเป็นคนเสื้อแดง ที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยเหมือนเดิม[65]

ในที่สุด แกนนำ นปช.ส่วนหนึ่งยอมมอบตัวต่อตำรวจ ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ส่งเสียงโห่ร้อง เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของแกนนำ นปช.ที่ขอให้ยุติการชุมนุม และไม่ยอมมอบตัวต่อทางการ การปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมกับกองทัพ ยังคงดำเนินต่อไป ในหลายส่วนของกรุงเทพมหานคร มีมือที่ 3 เข้าวางเพลิงอาคารที่ทำการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 สาขาธนาคารบางแห่ง ศูนย์การค้าอย่างน้อยสองแห่ง อาทิ เซ็นเตอร์วัน และ เซ็นทรัลเวิลด์ รวมทั้งมีการตั้งสิ่งกีดขวางกำลังทหารตามท้องถนน[66][67] ผู้ชุมต่างแยกย้ายกันกลับ เพราะทหารกำลังเข้ามาสลาย มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 39 ศพ บาดเจ็บกว่า 300 ราย ในช่วงการสลายผู้ชุมนุม

เวลา 18.00 น. ศูนย์เอราวัณรายงานยอดผู้บาดเจ็บ เฉพาะวันที่ 19 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 06.00–18.00 น. พบว่ามีผู้บาดเจ็บ 58 ราย เสียชีวิต 6 ศพ มีชาวต่างชาติได้รับบาดเจ็บ 2 ราย เป็นชาวแคนาดา 1 ราย ไม่ทราบสัญชาติ 1 ราย[68]

ต่อมาเวลา 23.00 น. มีรายงานเพิ่มเติม โดยได้รับการยืนยันจากพระภิกษุภายในวัดปทุมวนาราม ว่ามีผู้เสียชีวิตในวัด ขณะที่นายแพทย์ปิยะลาภ วสุวัต แพทย์กองอุบัติเหตุโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า ได้รับการติดต่อมาแล้วว่า มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ บาดเจ็บ 7 คน แต่ต้องรอถึงวันรุ่งขึ้น ทีมแพทย์จึงจะเข้าไปได้[69]

ปฏิกิริยาของแกนนำ หลังยุติการชุมนุม

ปรากฏหลังจากนั้นว่า แกนนำ นปช.ได้รับการรับรองที่ดีกว่าผู้ต้องหาโดยทั่วไปเป็นอย่างมาก[70] ทั้งไม่สวมกุญแจมือ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง วิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ[71] โดยเฉพาะการจัดให้แกนนำได้แถลงข่าว และตำรวจจับมือกับแกนนำ[72] ภายหลังมีการย้ายสถานที่ควบคุมตัว โดยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 อนึ่ง ปรากฏว่า อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง, พายัพ ปั้นเกตุ และสุภรณ์ อัตถาวงศ์ แกนนำส่วนหนึ่ง หลบหนีไปจากที่ชุมนุมแยกราชประสงค์

การชุมนุมภายหลังการสลายการชุมนุม

การชุมนุมย่อยในวันที่ 17 พฤษภาคม บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม กลุ่มคนเสื้อแดงทยอยตั้งเวทีปราศรัยย่อยหลายแห่ง เพื่อรวบรวมกลุ่มคนเสื้อแดง ทั้งผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด แต่ไม่สามารถเข้าร่วมการชุมนุมที่เวทีใหญ่แยกราชประสงค์ได้ เนื่องจากมีกำลังทหารปิดล้อมทุกทิศทาง และเพื่อป้องกันมิให้มวลชนออกไปตั้งแนวปะทะกับฝ่ายทหาร โดยจุดแรกบริเวณย่านคลองเตย บริเวณใต้ทางด่วนพระรามที่ 4 ชุมชนบ่อนไก่, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หน้าศูนย์การค้าเซ็นเตอร์วัน, สามเหลี่ยมดินแดง, มูลนิธิบ้านเลขที่ 111 นางเลิ้ง, ที่ทำการพรรคเพื่อไทย เป็นต้น[73] และมหาวิทยาลัยรามคำแหง[74]

จากนั้น สมยศ พฤกษาเกษมสุข สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ สุรชัย แซ่ด่าน ประกาศว่าจะชุมนุมที่จังหวัดราชบุรี ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[75] และจะเข้าสู่กรุงเทพฯ ในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน[76]

ใกล้เคียง

การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553 การสละราชสมบัติ การสลายตัวกัมมันตรังสี การสลายของเม็ดเลือดแดง การสลับขั้วแม่เหล็กโลก การสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน พ.ศ. 2563 การสลายให้อนุภาคบีตา การสละตำแหน่งพระสันตะปาปา การสลายให้อนุภาคแอลฟา การสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์_พ.ศ._2553 http://www.brisbanetimes.com.au/world/16-dead-more... http://www.smh.com.au/world/Red-Shirts-on-rampage-... http://www.abc.net.au/news/stories/2010/05/19/2903... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/119852 http://www.bangkokpost.com/breakingnews/178232/arm... http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?... http://www.channelnewsasia.com/stories/afp_asiapac... http://edition.cnn.com/2010/WORLD/asiapcf/05/17/th... http://www.csmonitor.com/World/terrorism-security/...